แนวทางประกอบการใช้โครงการตัวอย่าง ปี ๒๕๖๐ : สำนักสนับสนุนระบบบริกรสุขภาพชุมชน.สปสช.
คำอธิบาย : เพื่อนำไปสื่อสารถ่ายทอดขยายผล ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการกองทุนฯ/พี่เลี้ยงกองทุนฯ
ถึงหลักการ และเจตนาของการนำโครงการตัวอย่างไปประยุกต์ใช้ต้องสอดคล้องกับโครงการ/
แผนงาน/กิจกรรม การดำเนินกิจกรรมและผู้รับผิดชอบโครงการ
ขั้นตอนการเตรียมเสนอโครงการ
การสนับสนุนงบประมาณภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ สิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเข้าใจคือ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม /กลุ่มประชากรเป้าหมายผู้รับประโยชน์ ผู้มีสิทธิขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ ที่มีเหตุปัจจัย ใครทำ?...ทำอะไร?...เพื่อใคร?
วิเคราะห์บริบทของพื้นที่
นำแผนชุมชนหรือธรรมนูญสุขภาพ หรือแผนอื่นๆ มาวิเคราะห์ถึงความจำเป็นหรือเป็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ จะต้องอยู่ในกรอบงานที่เกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่น
การนำโครงการตัวอย่างไปประยุกต์ใช้
เมื่อวิเคราะห์ปัญหาความจำเป็นของแต่ละพื้นที่แล้วนั้น นำโครงการตัวอย่างมาประยุกต์ใช้ เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ อปท. ต้องคำนึงถึง ดังนี้
๑. โครงการนี้ใคร...เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมและวิธีการดำเนินการของโครงการ
(สถานบริการ/หน่วยบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข/หน่วยงานอื่น/กลุ่มหรือองค์กรประชาชน)
๒. โครงการดังกล่าวทำเพื่ออะไร?
(สร้างเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรค/ฟื้นฟูสมรรถภาพ/รักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก)
๓. วัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร
(ให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ หรือเห็นได้ชัด วัดได้)
๔. กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ คือใคร?...กิจกรรมที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่มวัย
" กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
" กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
" กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
" กลุ่มวัยทำงาน
" กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
" กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
" กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
๕. วิธีการหรือกิจกรรมที่จะดำเนินการ
(ระบุวิธีการหรือกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ)
๖. งบประมาณที่จะต้องใช้
(หากเป็นบริการที่ดำเนินการโดยหน่วยบริการให้จ่ายเป็นค่าชดเชยบริการ หากกังวลว่าจะเป็นการซ้ำซ้อน ให้จ่ายเป็นค่าบริการเพิ่มเติม (ไม่ใช่ชดเชยบริการ) เพื่อกระตุ้นการเข้าถึงบริการ นอกจากนั้นจ่ายเป็นค่าตอบแทนใช้สอย ค่าจ้างเหมาแล้วแต่กรณี)
๗. สิ่งส่งมอบ
(ควรเป็นรูปธรรมชัดเจน หากเป็นบริการ บริการที่ส่งมอบคืออะไร ใครบ้างที่ได้รับ หากเป็นการพัฒนาศักยภาพ/การประชุม ให้ระบุผู้เข้ารับการพัฒนาหรือประชุมกี่คน ใครบ้างที่เข้าประชุม ฯลฯ)